หน้าเว็บ

ความเป็นมา

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ตามที่ได้ทราบว่าในประเทศไทยของเรานี้เริ่มมีสัตว์ป่าบางชนิดที่ใกล้จะสูญ พันธุ์เราจึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นมาโดยคำนึงถึงความสำคัญของสัตว์ป่าชนิดนั้นๆการอนุรักษ์สัตว์ป่ามีความเกี่ยวข้องกับการรักษาไว้ให้คงอยู่ตลอดไปและการเพิ่มพูนซึ่งทรัพยากรธรรมชาติสัตว์ป่าโดยให้มีการใช้ ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติด้านนี้ตลอดไปไม่มีที่สิ้นสุดซึ่งจะต้องมีศาสตร์และศิลป์ของการนำหลักวิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องมาใช้กับการจัดการสัตว์ป่าสัตว์ป่าสงวนอยู่รอดสืบลูกหลานต่อไปนอกจากนี้เพื่อเป็นบทเรียนที่คอยเตือนใจให้แต่ละคนร่วมมือหยุดยั้งการล่าการค้าสัตว์ป่าให้สัตว์ป่าของประเทศไทยได้อยู่รอดปลอดภัยสามารถสืบเผ่าพันธุ์ให้คงอยู่ตลอดไปและอยากให้คนรุ่นหลังให้นำไปศึกษา

ละมั่ง

ชื่อ : ละอง, ละมั่ง
ชื่อสามัญ : Eld's Deer
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cervus eldi
ชื่ออื่น : _
       ลักษณะ: เป็นกวางที่มีขนาดโตกว่าเนื้อทราย แต่เล็กกว่ากวางป่า เมื่อโตเต็มวัยมีความสูงที่ไหล่ 1.2-1.3 เมตร น้ำหนัก 100-150 กิโลกรัม ขนตามตัวทั่วไปมีสีน้ำตาลแดง ตัวอายุน้อยจะมีจุดสีขาวตามตัว ซึ่งจะเลือนกลายเป็นจุดจางๆ เมื่อโตเต็มที่ในตัวเมีย แต่จุดขาวเหล่านี้จะหายไปจนหมด ในตัวผู้ตัวผู้จะมีขนที่บริเวณคอยาว และมีเขาและเขาของละอง จะมีลักษณะต่างจากเขากวางชนิดอื่นๆ ในประเทศไทย ซึ่งที่กิ่งรับหมาที่ยื่นออกมาทางด้านหน้า จะทำมุมโค่งต่อไปทางด้านหลัง และลำเขาไม่ทำมุมหักเช่นที่พบในกวางชนิดอื่นๆ
        อุปนิสัย: ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ตัวผู้ที่โตเต็มวัยจะเข้าฝูงเมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ออกหากินใบหญ้า ใบไม้ และผลไม้ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน แต่เวลาแดดจัดจะเข้าหลบพักในที่ร่ม ละอง ละมั่งผสมพันธุ์ในเดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนเมษายน ตั้งท้องนาน 8 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว
        ที่อยู่อาศัก: ละองชอบอยู่ตามป่าโปร่ง และป่าทุ่ง โดยเฉพาะป่าที่มีแหล่งน้ำขัง
        เขตการแพร่ระจาย : ละองแพร่กระจายในประเทศอินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และเกาะไหหลำ ในประเทศไทยอาศัยอยู่ในบริเวณเหนือจากคอคอดกระขึ้นมา
        สถานภาพ: มีรายงานพบเพียง 3 ตัว ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี ละอง ละมั่งจัดสัตว์เป็นสงวนชนิดหนึ่งใน 15 ชนิดของประเทศไทย และใกล้จะสูญพันธุ์
       สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : ปัจจุบัน ละอง ละมั่งกำลังใกล้จะสูญพันธุ์หมดไปจากประเทศไทย เนื่องจากสภาพป่าโปร่ง ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยถูกบุกรุกทำลายเป็นไร่นา และที่อยู่อาศัยของมนุษย์ ทั้งยังถูกล่าอย่างหนักนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา

กรูปี

ชื่อ : กูปรี
ชื่อสามัญ : Kouprey
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bos sauveii
ชื่ออื่น : วัวเขาเกลียว(ลาว) โคไพร
          ลักษณะ : กูปรีเป็นสัตว์ป่าชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับ กระทิงและวัวแดง เมื่อโตเต็มที่มีความสูงที่ไหล่ 1.7-1.8 เมตร น้ำหนัก 7,000-9,000 กิโลกรัม ตัวผู้มีขนาดลำตัวใหญ่กว่าตัวเมียมาก สีโดยทั่วไปเป็นสีเทาเข้มเกือบดำ ขาทั้ง 4 มีถุงเท้าสีขาวเช่นเดียวกับกระทิง ในตัวผู้ที่มีอายุมาก จะมีเหนียงใต้คอยาวห้อยลงมาจนเกือบจะถึงดิน เขากูปรีตัวผู้กับตัวเมียจะแตกต่างกัน โดยเขาตัวผู้จะโค้งเป็นวงกว้าง แล้วตีวงโค้งไปข้างหน้า ปลายเขาแตกออกเป็นพู่คล้ายเส้นไม้กวาดแข็ง ตัวเมียมีเขาตีวงแคบแล้วม้วนขึ้นด้านบน ไม่มีพู่ที่ปลายเขา
            อุปนิสัย : อยู่รวมกันเป็นฝูง 2-20 ตัว กินหญ้า ใบไม้ดินโป่งเป็นครั้งคราว ผสมพันธุ์ในราวเดือนเมษายน ตั้งท้องนาน ๙ เดือน จะพบออกลูกอ่อนประมาณเดือนธันวาคมและมกราคม ตกลูกครั้งละ 1 ตัว              
               ที่อยู่อาศัย : ปกติอาศัยอยู่ตามป่าโปร่ง ที่มีทุ่งหญ้าสลับกับป่าเต็งรังและในป่าเบญจพรรณที่ค่อนข้างหายาก
                  เขตแพร่กระจาย : กูปรีมีเขตแพร่กระจายอยู่ในไทย เวียดนาม ลาว และกัมพูชา
              สถานภาพ : ประเทศไทยมีรายงานว่าพบกูปรีอยู่ตามแนวเทือกเขาชายแดนไทย-กัมพูชา และลาว กูปรีจัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน 15
                สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : ปัจจุบันกูปรีเป็นสัตว์สงวนที่หายากกำลังใกล้จะสูญพันธุ์หมดไปจากโลก เนื่องจากการถูกล่าเป็นอาหารและสภาวะสงครามในแถบอินโดจีน ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยเฉพาะกูปรี ทำให้ยากในการอยู่ร่วมกันในการอนุรักษ์กูปรี

นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร

ชื่อ : นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร
ชื่อสามัญ : White-eyed River-Martin
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pseudochelidon sirintarae
ชื่ออื่น : นกเจ้าฟ้า
            ลักษณะ : นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรที่มีลำตัวยาว 15 เซนติเมตร สีโดยทั่วไปมีสีดำเหลือบเขียวแกมฟ้า โคนหางมีแถบสีขาว ลักษณะเด่นได้แก่ มีวงสีขาวรอบตา ทำให้ดูมีดวงตาโปนโตออกมา จึงเรียกว่านกตาพอง นกที่โตเต็มวัย มีแกนขนหางคู่กลางยื่นยาวออกมา 2 เส้น
          อุปนิสัย : แหล่งผสมพันธุ์วางไข่ และที่อาศัยในฤดูร้อนยังไม่ทราบ ในบริเวณบึงบอระเพ็ด นกเจ้าหญิงสิรินธรจะเกาะนอน อยู่ในฝูงนกนางแอ่นชนิดอื่นๆ ที่เกาะอยู่ตามใบอ้อ และใบสนุ่นภายในบึงบอระเพ็ด บางครั้งก็พบอยู่ในกลุ่มนกกระจาบ และนกจาบปีกอ่อน กลุ่มนกเหล่านี้มีจำนวนนับพันตัว อาหารเชื่อได้ว่าได้แก่แมลงที่โฉบจับได้ในอากาศ
         ที่อยู่อาศัย: อาศัยอยู่ตามดงอ้อและพืชน้ำในบริเวณบึงบอระเพ็ด      
         เขตการแพร่กระจาย : พบเฉพาะในประเทศไทย พบในช่วงเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาว
         สถานาพ : นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรจัดเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งใน 15 ชนิดของประเทศไทยจัดเป็นสัตว์สงวนที่ใกล้จภะสูญพันธุ์
        สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์: นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร เป็นนกที่สำคัญอย่างยิ่งในด้านการศึกษาความสัมพันธ์ของนกนางแอ่น เพราะนกชนิดที่มีความสัมพันธ์กับนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรมากที่สุด คือนกนางแอ่นคองโก ที่พบตามลำธารในประเทศซาอีร์ ในตอนกลางของแอฟริกาตะวันตก แหล่งที่พบนกทั้ง 2 ชนิดนี้ห่างจากกันถึง 10,000 กิโลเมตร ประชากรในธรรมชาติของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเชื่อว่ามีอยู่น้อยมาก เพราะเป็นนกชนิดที่โบราณที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน

แมวลายหินอ่อน

ชื่อ : แมวลายหินอ่อน 
ชื่อสามัญ : Marbled Cat 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pardofelis marmorata 
ชื่ออื่น : _ 
        ลักษณะ : แมวลายหินอ่อนเป็นแมวป่าขนาดกลาง น้ำหนักตัวเมื่อโตเต็มที่ 4-5 กิโลกรัม ใบหูเล็กมนกลมมีจุดด้านหลังใบหู หางยาวมีขนหนาเป็นพวงเด่นชัด สีขนโดยทั่วไปเป็นสีน้ำตาลอมเหลือง มีลายบนลำตัวคล้ายลายหินอ่อน ด้านใต้ท้องจะออกสีเหลืองมากกว่า ด้านหลังขาและหางมีจุดดำ เท้ามีพังผืดยืดระหว่างนิ้ว นิ้วมีปลอกเล็บสองชั้น และเล็บพับเก็บได้ในปลอกเล็บทั้งหมด
       อุปนิสัย : ออกหากินในเวลากลางคืน ส่วนใหญ่มักอยู่บนต้นไม้ อาหารได้แก่สัตว์ขนาดเล็กแทบทุกชนิดตั้งแต่แมลง จิ้งจก ตุ๊กแก งู นก หนู กระรอก จนถึงลิงขนาดเล็ก นิสัยค่อนข้าดุร้าย 
        ที่อยู่อาศัย : ในประเทศไทยพบอยู่ตามป่าดงดิบเทือกเขาตะนาวศรีและป่าดงดิบชื้น ในภาคใต้
       เขตแพร่กระจาย : แมวป่าชนิดนี้มีเขตแพร่กระจายตั้งแต่ประเทศเนปาล สิกขิม แคว้นอัสสัม ประเทศอินเดีย ผ่านทางตอนเหนือของพม่า ไทย อินโดจีน ลงไปตลอดแหลมมลายู สุมาตราและบอร์เนียว              
        สถานภาพ : แมวลายหินอ่อนจัดเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งใน 15 ชนิดของประเทศไทยจัดเป็นสัตว์สงวนที่ใกล้จะสูญพันธุ์ 
   สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์: เนื่องจากแมวลายหินอ่อนเป็นสัตว์ที่หาได้ยาก และมีปริมาณในธรรมชาติค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับแมวป่าชนิดอื่นๆ จำนวนจึงน้อยมาก

กวางผา


ชื่อ : กวางผา 
ชื่อสามัญ : Goral
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Naemorhedus griseus
ชื่ออื่น : ม้าเทวดา 
          ลักษณะ: กวางผาเป็นสัตว์จำพวก แพะ แกะเช่นเดียวกับเลียงผา แต่มีขนาดเล็กกว่า เมื่อโตเต็มที่มีความสูงที่ไหล่มากกว่า 50 เซนติเมตร เพียงเล็กน้อย และมีน้ำหนักตัวประมาณ 30 กิโลกรัม ขนบนลำตัวสีน้ำตาล หรือสีน้ำตาลปนเทา มีแนวสีดำตามสันหลงไปจนจดหาง ด้านใต้ท้องสีจางกว่าด้านหลัง หางสั้นสีดำ เขาสีดำ
         อุปนิสัย: ออกหากินตามที่โล่งในตอนเย็น และตอนเช้ามืด หลับพักนอนตามพุ่มไม้ และชะง่อนหินในเวลากลางคืน อาหาร ได้แก่ พืชที่ขึ้นตามสันเขาและหน้าผาหิน เช่น หญ้า ใบไม้ กิ่งไม้ และลูกไม้เปลือกแข็งจำพวกลูกก่อ กวางผาอยู่รวมกันเป็นฝูงๆละ 4-12 ตัว ผสมพันธุ์ในราวเดือนพฤศจิกายน และธันวาคม ออกลูกครอกละ 1-2 ตัว ตั้งท้องนาน 6 เดือน 
           ที่อาศัย: กวางผาจะอยู่บนยอดเขาสูงชันในที่ระดับน้ำสูงชันมากกว่า 1,000 เมตร 
     เขตแพร่กระจาย: กวางผามีเขตแพร่กระจายตั้งแต่แคว้นแพร่กระจาย ตั้งแต่แคว้นแคชเมียร์ลงมาจนถึงแคว้นอัสสัม จีนตอนใต้ พม่าและตอนเหนือของประเทศไทย ในประเทศไทยมีรายงานพบกวางผาตามภูเขาที่สูงชันในหลายบริเวณ เช่น ดอยม่อนจอง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย ดอยเลี่ยม ดอยมือกาโด จังหวัดเชียงใหม่ และบริเวณสองฝั่งลำน้ำปิงในอุทยานแห่งชาติแม่ปิง จังหวัดตาก 
          สถานภาพ: กวางผาจัดเป็นสัตว์สงวนชนิดหนึ่งใน 15 ชนิดของประเทศไทยและจัดเป็นสัตว์สงวนที่ใกล้จะสูญพันธุ์
         สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์: เนื่องจากการบุกรุกถางป่าที่ทำไร่เลื่อนลอยของชาวเขาในระยะเริ่มแรกและชาวบ้านในระยะหลัง ทำให้ที่อาศัยของกวางผาลดน้อยลง เหลืออยู่เพียงตามยอดเขาที่สูงชัน ประกอบกับการล่ากวางผาเพื่อเอาน้ำมัน

นกแต้วแล้วท้องดำ

ชื่อ : นกแต้วแล้วท้องดำ 
ชื่อสามัญ : Gurney's Pitta 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pitta gurney 
ชื่ออื่น : _ 
          ลักษณะ: เป็นนกขนาดเล็ก ลำตัวยาว 21 เซนติเมตร จัดเป็นนกที่มีความสวยงามมาก นกตัวผู้มีส่วนหัวสีดำ ท้ายทอยมีสีฟ้าประกายสดใส ด้านหลังสีน้ำตาลติดกับอกตอนล่าง และตอนใต้ท้องที่มีดำสนิท นกตัวเมียมีสีสดใสน้อยกว่า โดยทั่วไปสีลำตัวออกน้ำตาลเหลือง ไม่มีแถบดำบนหน้าอกและใต้ท้อง นกอายุน้อยมีหัว และคอสีน้ำตาลเหลือง ส่วนอกใต้ท้องสีน้ำตาล ทั่วตัวมีลายเกล็ดสีดำ
        อุปนิสัย: นกแต้วแล้วท้องดำทำรังเป็นซุ้มทรงกลม ด้วยแขนงไม้และใบไผ่ วางอยู่บนพื้นดิน หรือในกอระกำ วางไข่ 3-4 ฟอง ทั้งพ่อนกและแม่นก ช่วยกันกกไข่และหาอาหารมาเลี้ยงลูก อาหารได้แก่หนอนด้วง ปลวก จิ้งหรีดขนาดเล็ก และแมลงอื่นๆ 
       ที่อยู่อาศัย: นกแต้วแล้วท้องดำชนิดนี้พบอาศัยอยู่เฉพาะในบริเวณป่าดงดิบต่ำ
    เขตแพร่กระจาย: พบตั้งแต่ตอนใต้ของประเทศพม่า ลงมาจนถึงเขตรอยต่อระหว่างประเทศไทย กับประเทศมาเลเซีย          
      สถานภาพ: ปัจจุบันนกแต้วแล้วท้องดำจัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน 15 ชนิดของประเทศไทย และจัดเป็นสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ 
    สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์: นกชนิดนี้ จัดเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่เฉพาะในป่าดงดิบต่ำ ซึ่งกำลังถูกตัดฟันอย่างหนัก และสภาพที่อยู่เช่นนี้มีน้อยมากในบริเวณเขตคุ้มครองในภาคใต้ นอกจากนี้ เนื่องจากเป็นนกที่หายากเป็นที่ต้องการของตลาดนกเลี้ยง จึงมีราคาแพง อันเป็นแรงกระตุ้นให้นกแต้วแล้วท้องดำถูกล่ามากยิ่งขึ้น

กระซู่

ชื่อ : กระซู่ 
ชื่อสามัญ : Sumatran Rhinoceros 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dicermocerus sumatraensis 
ชื่ออื่น : แรดสุมาตรา 
          ลักษณะ: กระซู่เป็นสัตว์จำพวกเดียวกับแรด แต่มีลักษณะลำตัวเล็กกว่าตัวโตเต็มวัยมีความสูงที่ไหล่ 1-1.5 เมตร น้ำหนักประมาณ 1,000 กิโลกรัมมีหนังหนาและมีขนขึ้นปกคลุมทั้งตัว โดยเฉพาะในตัวที่มีอายุน้อยซึ่งขนจะลดน้อยลงเมื่อมีอายุมากขึ้น สีลำตัวโดยทั่วไปออกเป็นสีเทา คล้ายสีขี้เถ้าด้านหลังลำตัว จะปรากฏรอยพับของหนังเพียงพับเดียว ตรงบริเวณด้านหลังของขาคู่หน้ากระซู่ทั้งสองเพศมีนอ 2 นอ นอหน้ามีความยาวประมาณ ๒๕ เซนติเมตรส่วนนอหลังมีความยาวไม่เกิน 10 เซนติเมตรหรือเป็นเพียงตุ่มนูนขึ้นมาในตัวเมีย 
          อุปนิสัย: กระซู่ปีนเขาได้เก่ง มีประสาทรับกลิ่นดีมาก ออกหากินในเวลากลางคืน อาหาร ได้แก่พวกใบไม้ และผลไม้ป่าบางชนิด ปกติกระซู่จะใช้ชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์ หรือตัวเมียเลี้ยงลูกอ่อน ตกลูกครั้งละ 1 ตัว มีระยะตั้งท้อง7-8 เดือน ในที่เลี้ยงกระซู่มีอายุยืน 32ปี 
            ที่อยู่อาศัย: กระซู่อาศัยอยู่ตามป่าเขาที่มีความหนารกทึบ ลงมาอยู่ในป่าที่ราบต่ำในตอนปลายฤดูฝนซึ่งในระยะนั้นมีปรักและน้ำอยู่ทั่วไป
         เขตแพร่กระจาย: กระซู่มีเขตแพร่กระจายในประเทศไทยมีรายงานว่าพบกระซู่อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหลายแห่งได้แก่ ภูเขียวจังหวัดชัยภูมิ เขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานีทุ่งใหญ่นเรศวร จังหวัดกาญจนบุรี และคลองแสง จังหวัดสุราษฏร์ธานีและในบริเวณอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง ได้แก่ แก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรีและเขื่อนบางลาง จังหวัดยะลาและบริเวณป่ารอยต่อระหว่างประเทศกับมาเลเซีย 
       สถานภาพ: ปัจจุบันกระซู่จัดเป็นสัตว์สงวนชนิดหนึ่งใน 15 ชนิดของประเทศไทยจัดเป็นสัตว์สงวนที่ใกล้จะสูญพันธุ์ 
            สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์: กระซู่ปัจจุบันใกล้จะสูญพันธุ์ไปจากโลก เนื่องจากถูกล่าเพื่อเอานอและอวัยวะทุกส่วนของตัว ซึ่งมีฤทธิ์ในทางเป็นยา

แรด

ชื่อ : แรด 
ชื่อสามัญ : JavanRhinoceros
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhinocerossondaicus 
ชื่ออื่น : แรดชวา
          ลักษณะ: แรดจัดเป็นสัตว์จำพวกมีกีบ คือมีเล็บ 3 เล็บทั้งเท้าหน้าและเท้าหลังตัวโตเต็มวัยมีความสูงที่ไหล่ 1.6-1.8 เมตร น้ำหนักตัว 250-300 กิโลกรัม แรดมีหนังหนาและมีขนแข็งขึ้นห่างๆสีพื้นเป็นสีเทาออกดำ ส่วนหลังมีส่วนพับของหนัง 3 รอยบริเวณหัวไหล่ด้านหลังของขาคู่หน้า และด้านหน้าของขาคู่หลังแรดตัวผู้มีนอเดียวยาวไม่เกิน 25 เซนติเมตรส่วนตัวเมียจะเห็นเป็นเพียงปุ่มนูนขึ้นมา
          อุปนิสัย: ในอดีตเคยพบแรดหากินร่วมเป็นฝูง แต่ในปัจจุบันแรดหากินตัวเดียวโดดๆหรืออยู่เป็นคู่ในฤดูผสมพันธุ์ อาหารของแรดได้แก่ ยอดไม้ ใบไม้ กิ่งไม้และผลไม้ที่ร่วงหล่นบนพื้นดิน แรดไม่มีฤดูผสมพันธุ์ที่แน่นอนจึงสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดปี ตกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท่องนานประมาณ 16 เดือน
         ที่อยู่อาศัย: แรดอาศัยอยู่เฉพาะในบริเวณป่าดิบชื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์หรือตามป่าทึบริมฝั่งทะเล ส่วนใหญ่จะหากินอยู่ตามพื้นที่ราบไม่ค่อยขึ้นบนภูเขาสูง
         เขตแพร่กระจาย: แรดมีเขตกระจายในประเทศไทยเชื่อว่ายังอาจจะมีคงเหลืออยู่บ้างทางเทือกเขาตะนาวศรีและในป่าลึกตามแนวรอยต่อจังหวัดระนองพังงาและสุราษฎร์ธานี
        สถานภาพ: ปัจจุบันแรดจัดเป็นสัตว์สงวนชนิดหนึ่งใน 15 ชนิดของประเทศไทยและจัดเป็นสัตว์สงวนที่ใกล้จะสูญพันธุ์ 
       สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์: ถูกล่าและทำลายอย่างหนักเพื่อต้องการนอหรือส่วนอื่นๆ เช่น กระดูก เลือด ฯลฯ ซึ่งมีคุณค่าสูงยิ่งเพื่อใช้ในการบำรุงและยาอื่นๆ นอกจากนี้บริเวณป่าที่ราบที่แรดชอบอาศัยอยู่ก็หมดไปกลายเป็นบ้านเรือนและเกษตรกรรมจนหมด

ควายป่า

ชื่อ : ควายป่า
ชื่อสามัญ : Wild Water Buffalo 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bubalus bubalis 
ชื่ออื่น : มหิงสา
         ลักษณะ: ควายป่าเป็นสัตว์ชนิดเดียวกับ ควายบ้าน แต่มีลำตัวขนาดลำตัวใหญ่กว่ามีนิสัยว่องไว และดุร้ายกว่าควายบ้านมาก ตัวโตเต็มวัยมีความสูงที่ไหล่เกือบ 2 เมตรน้ำหนักมากกว่า 1,000 กิโลกรัม สีลำตัวโดยทั่วไปเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลดำ ขาทั้ง 4 สีขาวแก่ หรือสีเทาคล้ายใส่ถุงเท้าสีขาวด้านล่างของลำตัวเป็นลายสีขาวรูปตัววี (V ) ควายป่ามีเขาทั้ง 2เพศเขามีขนาดใหญ่กว่าควายเลี้ยง วงเขากางออกกว้างโค้งไปทางด้านหลังด้านตัดขวางเป็นรูปสามเหลี่ยมปลายเขาเรียวแหลม 
            อุปนิสัย: ควายป่าชอบออกหากินในเวลาเช้า และเวลาเย็น อาหารได้แก่ พวกใบไม้ หญ้าและหน่อไม้ หลังจากกินอาหารอิ่มแล้ว ควายป่าจะนอนเคี้ยวเอื้องตามพุ่มไม้หรือนอนแช่ปรักโคลนตอนช่วงกลางวัน ควายป่าจะอยู่ร่วมกันเป็นฝูงฤดูผสมพันธุ์อยู่ราวๆ เดือนตุลาคมและพฤศจิกายน ตกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 10 เดือนเท่าที่ทราบควายป่ามีอายุยืน 20-25 ปี 
            ที่อยู่อาศัย: ควายป่ามีเขตแพร่กระจายจากประเทศเนปาลและอินเดียไปสิ้นสุดทางด้านทิศตะวันออกที่ประเทศเวียดนามในประเทศไทยปัจจุบันมีควายป่าเหลืออยู่บริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งจังหวัดอุทัยธานี 
             สถานภาพ: ปัจจุบันควายป่าที่เหลืออยู่ในประเทศไทยมีจำนวนน้อยมากจนน่ากลัวว่าอีกไม่นานจะหมดไปจากประเทศ ควายป่าจัดเป็นสัตว์สงวนชนิดหนึ่งใน 15 ชนิดของประเทศไทย 
     สาเหตุที่สูญพันธุ์: เนื่องจากการถูกล่าเพื่อเอาเนื้อและเอาเขาที่สวยงาม และการสูญเชื้อพันธุ์เนื่องจากไปผสมกับควายบ้าน ที่มีผู้เอาไปเลี้ยงปล่อยเป็นควายปละในป่าในกรณีหลังนี้บางครั้งควายป่าจะติดโรคต่างๆ จากควายบ้านทำให้จำนวนลดลงมากยิ่งขึ้น

สมัน

ชื่อ : สมัน 
ชื่อสามัญ : Schomburgk’s Deer
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cervus schomburgki
ชื่ออื่น : เนื้อสมัน 
        ลักษณะ: เนื้อสมันเป็นกวางชนิดหนึ่งที่เขาสวยงามที่สุด ในประเทศไทยเมื่อโตเต็มวัยจะมีความสูงที่ไหล่ประมาณ 1 เมตรสีขนบนลำตัวมีสีน้ำตาลเข้มและเรียบเป็นมัน หางค่อนข้างสั้นและมีสีขางทางตอนล่างสมันมีเขาเฉพาะตัวผู้ ลักษณะเขาของสมันมีขนาดใหญ่และแตกกิ่งก้านออกหลายแขนง ดูคล้ายสุ่มหรือตะกร้าสมันจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่ากวางเขาสุ่ม
        อุปนิสัย: ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็กๆ โดยเฉพาะในฤดูผสมพันธุ์ หลังจากหมดฤดูผสมพันธุ์และตัวผู้จะแยกตัวออกมาอยู่โดดเดี่ยว สมันชอบกินหญ้าโดยเฉพาะหญ้าอ่อน ผลไม้ ยอดไม้และใบไม้หลายชนิด ที่อยู่อาศัย: สมันจะอาศัยเฉพาะในทุ่งโล่ง ไม่อยู่ตามป่ารกทึบเนื่องจากเขามีกิ่งก้านสาขามากจะเกี่ยวพันพันกับเถาวัลย์ได้ง่าย
     เขตแพร่กระจาย: สมันเป็นสัตว์ชนิดที่มีเขตแพร่กระจายจำกัดอยู่ในบริเวณที่ราบภาคกลางของประเทศเท่านั้นสมัยก่อนมีชุกชุมมากในที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณจังหวัดรอบกรุงเทพฯ เช่นนครนายก ปทุมธานี และปราจีนบุรี และแม้แต่บริเวณพื้นที่รอบนอกของกรุงเทพฯ เช่นบริเวณพญาไท บางเขน รังสิต
             สถานภาพ: สมันได้สูญพันธุ์ไปจากโลกและจากประเทศไทยเมื่อเกือบ 60 ปี
         สาเหตุของการสูญพันธุ์: เนื่องจากแหล่งที่อยู่อาศัยได้ถูกเปลี่ยนเป็นนาข้าวเกือบทั้งหมดและสมันที่เหลืออยู่ตามที่ห่างไกลจะถูกล่าอย่างหนักในฤดูน้ำหลากท่วมท้องทุ่งทำให้พวกพรานล้อมไล่ฆ่าอย่างง่ายดาย

นกกระเรียง

ชื่อ : นกกระเรียน 
ชื่อสามัญ : Sarus Crane
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Grus antigone sharpii
ชื่ออื่น : _ 
     ลักษณะ: เป็นนกขนาดใหญ่เมื่อยืนมีขนาดสูงราว 150 เซนติเมตร ส่วนหัวและคอไม่มีขนปกคลุมมีลักษณะเป็นปุ่มหยาบสีแดง ยกเว้นบริเวณกระหม่อมสีเขียวอมเทาในฤดูผสมพันธุ์มีสีแดงส้มสดขึ้นกว่าเดิม ขนลำตัวสีเทาจนถึงสีเทาแกมฟ้ามีกระจุกขนสีขาวห้อยคลุมส่วนหาง จะงอยปากสีออกเขียวแข้งและเท้าสีแดงหรือสีชมพูอมฟ้านกอายุน้อยมีขนสีน้ำตาลทั่วตัวบนส่วนหัวและลำคอมีขนสีน้ำตาลเหลืองปกคลุมในประเทศไทยเป็นนกกระเรียนจะมีวงแหวนสีขาวรอบลำคอ 
      อุปนิสัย: ออกหากินเป็นคู่และเป็นกลุ่มครอบครัว กินพวกสัตว์ เช่น แมลง สัตว์เลื้อยคลานกบ เขียด หอย ปลา กุ้งและพวกพืช เมล็ดข้าวและยอดหญ้าอ่อนทำรังวางไข่ในฤดูฝนราวเดือนมิถุนายน ปกติวางไข่จำนวน 2 ฟองพ่อแม่นกจะเลี้ยงดูลูกอีกเป็นเวลาอย่างน้อย 10 เดือน
        ที่อยู่อาศัย: ชอบอาศัยตามทุ่งหญ้าที่ชื้นแฉะและหนองบึงที่ใกล้ป่า 
     เขตแพร่กระจาย: นกกระเรียนชนิดย่อยนี้ มีเขตแพร่กระจายจากแคว้นอัสสัมในประเทศอินเดียประเทศพม่า ไทย ตอนใต้ลาว กัมพูชา เวียดนามตอนใต้ ถึงเมืองลูซุนประเทศฟิลิปปินส์บางครั้งพลัดหลงไปถึงประเทศมาเลเซียและยังมีประชากรอีกกลุ่มหนึ่งในรัฐควีนแลนด์ประเทศออสเตรเลีย 
    สถานภาพ: ปัจจุบันนกกระเรียนจัดเป็นสัตว์สงวนชนิดหนึ่งใน 15 ชนิดของประเทศไทย จัดเป็นสัตว์สงวนที่ใกล้จะสูญพันธุ์ 
      สาเหตุที่ใกล้จะสูญพันธุ์: ภัยหลักที่คุกคามนกกระเรียนคือการที่พื้นที่ชุ่มน้ำถูกทำลาย การลักลอบจับลูกนกไปขายก็ทำให้จำนวนของนกกระเรียนลดลง

สมเสร็จ

ชื่อ : สมเสร็จ
ชื่อสามัญ : Malayan Tapir
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tapirus indicus
ชื่ออื่น : ผสมเสร็จ 
        ลักษณะ: สมเสร็จเป็นสัตว์กีบคี่ เท้าหน้ามี 4 เล็บ และเท้าหลังมี 3 เล็บจมูกและริมฝีปากบนยื่นออกมาคล้ายงวงตามี ขนาดเล็ก ใบหู รูปไข่ หางสั้นตัวเต็มวัยมีน้ำหนัก 250-300 กิโลกรัม ส่วนหัวและลำตัวเป็นสีขาวสลับดำตั้งแต่ปลายจมูกตลอดท่อนหัวจนถึงลำตัว บริเวณระดับหลังของขาคู่หน้ามีสีดำท่อนกลางตัวเป็นแผ่นขาว ส่วนบริเวณโคนหางลงไปตลอดขาคู่หลัง จะเป็นสีดำขอบปลายหูและริมฝีปากขาว ลูกสมเสร็จลำตัวมีลายเป็นแถบดูลายพร้อยคล้ายลูกแตงไทย
        อุปนิสัย: สมเสร็จชอบออกหากินในเวลากลางคืน กินยอดไม้ กิ่งไม้ หน่อไม้และพืชอวบน้ำหลายชนิด มักมุดหากินตามที่รกทึบ ไม่ค่อยชอบเดินหากินตามเส้นทางเก่ามีประสาทสัมผัสทางกลิ่นและเสียงดีมาก ผสมพันธุ์ในเดือนเมษายนหรือเดือนพฤษภาคมตกลูกครั้งละ 1 ตัว ใช้เวลาตั้งท้องนานประมาณ 13 เดือนสมเสร็จที่เลี้ยงไว้มีอายุนานประมาณ 30 ปี 
       ที่อยู่อาศัย: สมเสร็จชอบอยู่อาศัยตามบริเวณที่ร่มครึ้มใกล้ห้วยหรือลำธาร เขตแพร่กระจาย: สมเสร็จมีเขตแพร่กระจายจากพม่าตอนใต้ ไปตามพรมแดนด้านทิศตะวันตกของประเทศไทยลงไปสุดแหลมมลายูและสุมาตราในประเทศไทยจะพบสมเสร็จได้ในป่าดงดิบตามเทือกเขาถนนธงชัย เทือกเขาตะนาวศรีและป่าทั่วภาคใต้
       สถานภาพ: ปัจจุบันสมเสร็จจัดเป็นสัตว์สงวนชนิดหนึ่งใน 15 ชนิดของประเทศไทย สมเสร็จจัดเป็นสัตว์สงวนที่ใกล้จะสูญพันธุ์ 
     สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์: การล่าสมเสร็จเพื่อเอาหนังและเนื้อ การทำลายป่าดงดิบที่อยู่อาศัยและหากินโดยการตัดไม้การสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำและถนนทำให้จำนวนสมเสร็จลดปริมาณลงจนหาได้ยาก

เลียงผา

ชื่อ : เลียงผา
ชื่อสามัญ : Serow
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Capricornis sumatraensis
ชื่ออื่น :_
       ลักษณะ: เลียงผาเป็นสัตว์จำพวกเดียวกับ แพะและแกะเมื่อโตเต็มที่มีความสูงที่ไหล่ประมาณ 1 เมตร ขายาวและแข็งแรง ใบหูยาวคล้ายใบหูลาขนตามลำตัวค่อนข้างยาว หยาบและมีสีดำ ด้านท้องขนสีจางกว่ามีขนเป็นแผงยาวบนสันคอและสันหลัง มีเขาทั้งในตัวผู้และตัวเมีย เขามีลักษณะตอนโคนกลมหยักเป็นวงแหวนโดยรอบค่อยๆ เรียวไปทางปลายเขาโค้งไปทางด้านหลังเล็กน้อย
       อุปนิสัย: ในเวลากลางวันจะพักอาศัยอยู่ในถ้ำ หรือในพุ่มไม้ ออกหากินในตอนเย็นถึงพลบค่ำและในเวลาเช้ามืด อาหารได้แก่พืชต่างๆ ทุกชนิด เลียงผามีประสาทหู ตาและรับกลิ่นได้ดี ผสมพันธุ์ในช่วงปลายเดือนตุลาคม ตกลูกครั้งละ 1-5 ตัวใช้เวลาตั้งท้องราว 7 เดือน ในที่เลี้ยง เลียงผามีอายุยาวกว่า 10 ปี
        ที่อาศัย: เลียงผาอาศัยอยู่ตามภูเขาที่มีหน้าผาสูงชันมีป่าปกคลุม
         เขตแพร่กระจาย: เลียงผามีเขตแพร่กระจาย ตั้งแต่แคว้นแคชเมียร์มาตามเทือกเขาหิมาลัยจนถึงแคว้นอัสสัม จีนตอนใต้ พม่า อินโดจีน มลายู และสุมาตราในประเทศไทยพบอาศัยอยู่ตามภูเขาสูงในหลายภูมิภาคของประเทศ เช่น เทือกเขาตะนาวศรีเทือกเขาถนนธงชัย เทือกเขาเพชรบูรณ์ และภูเขาทั่วไปในบริเวณภาคใต้รวมทั้งบนเกาะในทะเลที่อยู่ไม่ห่างจากแผ่นดินใหญ่มากนัก
        สถานภาพ: เลียงผาจัดเป็นสัตว์สงวนชนิดหนึ่งใน 15 ชนิดของประเทศไทยเลียงผาจัดเป็นสัตว์สงวนที่ใกล้จะสูญพันธุ์
        สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์: ในระยะหลังเลียงผามีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากการล่าอย่างหนักเพื่อเอาเขา กระดูก และน้ำมันมาใช้ทำยาสมานกระดูก

พะยูน

ชื่อ : พะยูน 
ชื่อสามัญ : Dugong 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dugong dugon 
ชื่ออื่น : หมูน้ำ, ปลาพะยูน
        ลักษณะ: พะยูนจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ในน้ำมีลำตัวเพรียวรูปกระสวยหางแยกเป็นสองแฉกวางตัวขนานกับพื้นในแนวราบไม่มีครีบหลังปากอยู่ตอนล่างของส่วนหน้าริมฝีปากบนเป็นก้อนเนื้อหนาลักษณะเป็นเหลี่ยมคล้ายจมูกหมูตัวอายุน้อยมีลำตัวออกขาวส่วนตัวเต็มวัยมีสีชมพูแดงเมื่อโตเต็มวัยจะมีน้ำหนักตัวประมาณ300 กิโลกรัม  
        อุปนิสัย: พะยูนอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัว หลายครอบครัวจะหากินเป็นฝูงใหญ่ ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ใช้เวลาตั้งท้องนาน 13 เดือน และจะโตเต็มที่เมื่อมีอายุ 9 ปี 
         ที่อยู่อาศัย: ชอบอาศัยหากินพืชจำพวกหญ้าทะเลตามพื้นท้องทะเลชายฝั่งทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน
      เขตแพร่กระจาย: พะยูนมีเขตแพร่กระจาย ตั้งแต่บริเวณชายฝั่งตะวันออกของทวีปแอฟริกา ทะเลแดงตลอดแนวชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียไปจนถึงประเทศฟิลิปปินส์ ไต้หวันและตอนเหนือของออสเตรเลีย ในประเทศไทยพบไม่บ่อยนักทั้งในบริเวณอ่าวไทยแถบจังหวัดระยองและชายฝั่งทะเลอันดามันแถบจังหวัดภูเก็ต พังงากระบี่ ตรัง สตูล
           สถานภาพ: ปัจจุบันพบพะยูนน้อยมาก พยูนที่ยังเหลืออยู่จะเป็นกลุ่มเล็กหรืออยู่โดดเดี่ยวบางครั้งอาจจะเข้ามาจากน่านน้ำของประเทศใกล้เคียงพะยูนจัดเป็นสัตว์สงวนชนิดหนึ่งใน15ชนิดของประเทศไทยที่ใกล้จะสูญพันธุ์
           สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์: เนื่องจากพะยูนถูกล่าเพื่อเป็นอาหาร ติดเครื่องประมงตายและเอาน้ำมันเพื่อเอาเป็นเชื้อเพลิงประกอบกับพะยูนแพร่พันธุ์ได้ช้ามากนอกจากนี้มลพิษที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมตามชายฝั่งทะเลได้ทำลายแหล่งหญ้าทะเล

เก้งหม้อ

ชื่อสามัญ : Fea’s Barking Deer
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Muntiacus feai
ชื่ออื่น : เก้งดำ, กวางจุก
          ลักษณะ: เก้งหม้อมีลักษณะโดยทั่วไป คล้ายคลึงกับเก้งธรรมดา ขนาดลำตัวไล่เลี่ยกันเมื่อโตเต็มที่น้ำหนักประมาณ 20 กิโลกรัม แต่เก้งหม้อจะมีสีลำตัวคล้ำกว่าเก้งธรรมดาด้านหลังสีออกน้ำตาลเข้ม ใต้ท้องสีน้ำตาลแซมขาว ขาส่วนที่อยู่เหนือกีบจะมีสีดำด้านหน้าของขาหลังมีแถบขาวเห็นได้ชัดเจน บนหน้าผากจะมีเส้นสีดำอยู่ด้านในระหว่างเขาหางสั้นด้านบนสีดำตัดกับสีขาวด้านล่างชัดเจน
         อุปนิสัย: เก้งหม้อชอบอาศัยอยู่เดี่ยว ในป่าดงดิบ ตามลาดเขาจะอยู่เป็นคู่เฉพาะฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น ออกหากินในเวลากลางวันมากกว่าในเวลากลางคืนอาหารได้แก่ ใบไม้ ใบหญ้า และผลไม้ป่า ตกลูกครั้งละ 1 ตัว เวลาตั้งท้องนาน 6 เดือน
 ที่อยู่อาศัย: ชอบอยู่ตามลาดเขาในป่าดงดิบและหุบเขาที่มีป่าหนาทึบและมีลำธานน้ำไหลผ่าน
          เขตแพร่กระจาย: เก้งหม้อมีเขตแพร่กระจาย อยู่ในบริเวณตั้งแต่พม่าตอนใต้ลงไปจนถึงภาคใต้ตอนบนของประเทศไทยเท่านั้นในประเทศไทยพบในบริเวณเทือกเขาตะนาวศรีลงไปจนถึงเทือกเขาภูเก็ตในบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสงในจังหวัดระนอง สุราษฎร์ธานีและพังงา
        สถานภาพ: ปัจจุบันเก้งหม้อจัดเป็นสัตว์สงวนชนิดหนึ่งใน 15 ชนิดของประเทศไทยเก้งหม้อให้เป็นสัตว์ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์
        สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์: ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าที่หายากและใกล้จะสูญพันธุ์หมดไปจากประเทศเนื่องจากมีเขตแพร่กระจายจำกัด และที่อยู่อาศัยถูกทำลาย