หน้าเว็บ

นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร

ชื่อ : นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร
ชื่อสามัญ : White-eyed River-Martin
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pseudochelidon sirintarae
ชื่ออื่น : นกเจ้าฟ้า
            ลักษณะ : นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรที่มีลำตัวยาว 15 เซนติเมตร สีโดยทั่วไปมีสีดำเหลือบเขียวแกมฟ้า โคนหางมีแถบสีขาว ลักษณะเด่นได้แก่ มีวงสีขาวรอบตา ทำให้ดูมีดวงตาโปนโตออกมา จึงเรียกว่านกตาพอง นกที่โตเต็มวัย มีแกนขนหางคู่กลางยื่นยาวออกมา 2 เส้น
          อุปนิสัย : แหล่งผสมพันธุ์วางไข่ และที่อาศัยในฤดูร้อนยังไม่ทราบ ในบริเวณบึงบอระเพ็ด นกเจ้าหญิงสิรินธรจะเกาะนอน อยู่ในฝูงนกนางแอ่นชนิดอื่นๆ ที่เกาะอยู่ตามใบอ้อ และใบสนุ่นภายในบึงบอระเพ็ด บางครั้งก็พบอยู่ในกลุ่มนกกระจาบ และนกจาบปีกอ่อน กลุ่มนกเหล่านี้มีจำนวนนับพันตัว อาหารเชื่อได้ว่าได้แก่แมลงที่โฉบจับได้ในอากาศ
         ที่อยู่อาศัย: อาศัยอยู่ตามดงอ้อและพืชน้ำในบริเวณบึงบอระเพ็ด      
         เขตการแพร่กระจาย : พบเฉพาะในประเทศไทย พบในช่วงเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาว
         สถานาพ : นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรจัดเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งใน 15 ชนิดของประเทศไทยจัดเป็นสัตว์สงวนที่ใกล้จภะสูญพันธุ์
        สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์: นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร เป็นนกที่สำคัญอย่างยิ่งในด้านการศึกษาความสัมพันธ์ของนกนางแอ่น เพราะนกชนิดที่มีความสัมพันธ์กับนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรมากที่สุด คือนกนางแอ่นคองโก ที่พบตามลำธารในประเทศซาอีร์ ในตอนกลางของแอฟริกาตะวันตก แหล่งที่พบนกทั้ง 2 ชนิดนี้ห่างจากกันถึง 10,000 กิโลเมตร ประชากรในธรรมชาติของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเชื่อว่ามีอยู่น้อยมาก เพราะเป็นนกชนิดที่โบราณที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น