หน้าเว็บ

เก้งหม้อ

ชื่อสามัญ : Fea’s Barking Deer
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Muntiacus feai
ชื่ออื่น : เก้งดำ, กวางจุก
          ลักษณะ: เก้งหม้อมีลักษณะโดยทั่วไป คล้ายคลึงกับเก้งธรรมดา ขนาดลำตัวไล่เลี่ยกันเมื่อโตเต็มที่น้ำหนักประมาณ 20 กิโลกรัม แต่เก้งหม้อจะมีสีลำตัวคล้ำกว่าเก้งธรรมดาด้านหลังสีออกน้ำตาลเข้ม ใต้ท้องสีน้ำตาลแซมขาว ขาส่วนที่อยู่เหนือกีบจะมีสีดำด้านหน้าของขาหลังมีแถบขาวเห็นได้ชัดเจน บนหน้าผากจะมีเส้นสีดำอยู่ด้านในระหว่างเขาหางสั้นด้านบนสีดำตัดกับสีขาวด้านล่างชัดเจน
         อุปนิสัย: เก้งหม้อชอบอาศัยอยู่เดี่ยว ในป่าดงดิบ ตามลาดเขาจะอยู่เป็นคู่เฉพาะฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น ออกหากินในเวลากลางวันมากกว่าในเวลากลางคืนอาหารได้แก่ ใบไม้ ใบหญ้า และผลไม้ป่า ตกลูกครั้งละ 1 ตัว เวลาตั้งท้องนาน 6 เดือน
 ที่อยู่อาศัย: ชอบอยู่ตามลาดเขาในป่าดงดิบและหุบเขาที่มีป่าหนาทึบและมีลำธานน้ำไหลผ่าน
          เขตแพร่กระจาย: เก้งหม้อมีเขตแพร่กระจาย อยู่ในบริเวณตั้งแต่พม่าตอนใต้ลงไปจนถึงภาคใต้ตอนบนของประเทศไทยเท่านั้นในประเทศไทยพบในบริเวณเทือกเขาตะนาวศรีลงไปจนถึงเทือกเขาภูเก็ตในบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสงในจังหวัดระนอง สุราษฎร์ธานีและพังงา
        สถานภาพ: ปัจจุบันเก้งหม้อจัดเป็นสัตว์สงวนชนิดหนึ่งใน 15 ชนิดของประเทศไทยเก้งหม้อให้เป็นสัตว์ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์
        สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์: ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าที่หายากและใกล้จะสูญพันธุ์หมดไปจากประเทศเนื่องจากมีเขตแพร่กระจายจำกัด และที่อยู่อาศัยถูกทำลาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น